ที่ดินมรดกยังไม่ได้โฉนด

แก้ไขล่าสุด วันที่ 27th August, 2023 at 08:15 am

  ไปพบอัยการคุ้มครองสิทธิ์จังหวัดสุรินทร์ให้อัยการช่วยอ่านคำพิพากษาให้ว่าศาลฎีกาตัดสินว่าอย่างไร นำคำพิพากษานั้น ไปให้ที่ดินแล้วก็แบ่งให้ได้เลยก็ทำตามนั้น แต่ถ้าบอกว่าไม่ได้ อัยการจะดูว่าทำยังไงถึงจะได้ ก็คือมาประเด็นที่ที่ดินอ้างว่าต้องให้พี่น้อง 2-3 คนทำไมเห็นชอบเนี่ยแล้วก็ไม่มา ก็ให้อัยการเชิญทั้ง 3 คนนั้นมาเจรจา ทำบันทึกกันเสร็จ ยินยอม ก็จบเลย ทีนี้พอจบ ก็มาโอนกันได้ ให้อัยการช่วยนะคุณลุงทรงนะครับแล้วถ้าไปแล้วติดเดี๋ยวนะไม่ต้องพูดแล้วครับถ้าไปแล้วติดขัดยังไงลุงทรงบอกมาเดี๋ยวผมจะตามเรื่องให้ แต่ไปพบอัยการคุ้มครองสิทธิ์ก่อน ขอให้ทำด้วยตัวเองก่อนนะครับเอาคำพิพากษาไปไปพบอัยการคุ้มครองสิทธิ์ ก่อนไปโทรศัพท์ไปบอกก่อนแล้วนัดว่าจะไปพบวันไหนอย่าไปวันจันทร์ วันจันทร์ ถ้างานยุ่ง ไปวันอังคารถึงวันศุกร์ วันเสาร์ก็ยังไปได้เขาทำงานอัยการคุ้มครองสิทธิ์จังหวัดสุรินทร์

ผู้จัดการมรดก ก็สำคัญนะ

ผู้จัดการมรดก มีทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งปันทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย และที่สำคัญ ผู้จัดการมรดก ต้องเป็นบุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกนะครับ

หน้าที่ของผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีทรัพย์มรดก และทำรายการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดก โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก จะทำนิติกรรมใดๆ ที่เป็นปรปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้

หากผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ เช่น ปิดบังมรดกต่อทายาท หรือเบียดบังเป็นของตน หรือเพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาท ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ และอาจมีความผิดอาญามีโทษจำคุกได้

คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
1. บรรลุนิติภาวะ ( มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ )
2.ไม่เป็นคนวิกลจริต
3.ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
4. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
1.ทายาท (ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม)
2.ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
3.พนักงานอัยการ

เอกสารที่ต้องนำมายื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก
1.สำเนาใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองการตายของผู้ตายและทายาททุกคนที่เสียชีวิตแล้ว
2.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายที่เจ้าหนาที่ประทับว่า “ตาย” แล้ว
3.สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและทายาททุกคนที่มีชีวิตอยู่
4.ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า ของสามีภรรยาของผู้ตาย
5.ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล กรณีเอกสารไม่ตรงกัน
6.สูติบัตรของบุตรกรณียังไม่บรรลุนิติภาวะ
7.พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
8.หนังสือให้ความยินยอมของทายาทที่เซ็นยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่
9.บัญชีเครือญาติที่ถูกต้องตามความจริง
10.เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ต้องจัดการ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส. 3, สมุดเงินฝาก, ทะเบียนรถ ฯลฯ

01b
02b
03b
04b
05b
06b
07b
08b
09b
10b
11b
12b
13b
14b
15b
16b
17b
18b
19b
20b
21b
22b
23b
24b
25b
26b
27b
28b

source:https://justicechannel.org/family/trustee

Share on: