ที่ดินมรดก ที่ยังไม่มีการไถ่ถอน

แก้ไขล่าสุด วันที่ 27th August, 2023 at 08:04 am

การโอนมรดก

เมื่อเจ้ามรดกตายมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมาย การขอรับโอน มรดกจึงเป็นการยื่นคําขอเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนสิทธิที่เกิดขึ้นตามกฎหมายให้ปรากฏในโฉนดที่ดิน เหตุใดจึงต้องให้ผู้รับจํานองทําหนังสือยินยอมด้วย
เพราะผู้รับจํานองไม่มีสิทธิที่จะห้ามไม่ให้มีการรับมรดก หรือห้ามทายาท คนหนึ่งคนใดรับมรดก และสิทธิหรือภาระการจํานองย่อมตกติดไปกับที่ดินที่ จํานองอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องหนี้ก็ต้องไปว่ากันในทางกฎหมาย

๑.ฉะนั้น การไปขอรับโอนมรดกที่ดินที่ติดจํานอง หากผู้รับจํานองมีหนังสือ ให้ยืมโฉนดที่ดินมาก็ยื่นคําขอจดทะเบียนโอนมรดกได้ใช่หรือไม่ อย่างไร
๒. ผู้รับจํานองไม่มีหน้าที่ที่จะต้องมาให้คํายินยอมให้โอนมรดกเพราะเป็นเรื่องของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายใช่หรือไม่ อย่างไร
๓. หากยังไม่สามารถนําโฉนดที่ดินตัวจริงมาได้ในวันยื่นคําขอโอนมรดก สามารถนําสําเนาโฉนดที่ดินสามารถยื่นคําขอได้ใช่หรือไม่เนื่องจากสามารถตรวจสอบต้นฉบับของสํานักงานที่ดินได้
๔. หากไม่สามารถนําโฉนดที่ดินมาในวันจดทะเบียนได้เจ้าพนักงานที่ดินมี

อํานาจในการเรียกโฉนดที่ดินดังกล่าวจากผู้ยึดถือใช่หรือไม่ อย่างไร
กรณีตามคําถามขอเรียน ดังนี้
ตามคําถามข้อที่ ๑ และ ๒ ขอเรียนว่ากรณีที่ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ อย่างอื่นได้มีการจดทะเบียนจํานองไว้แล้ว หากเจ้าของที่ดินหรือ
ถ้าการ
อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นต้องการที่จะจดทะเบียนประเภทอื่นต่อไปอีก จดทะเบียนรายการต่อไปนั้นเป็นการกระทบสิทธิของผู้รับจํานอง ฯลฯ พนักงานเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนต่อไปได้ก็ต่อเมื่อผู้รับจํานองได้ให้คํายินยอมไว้ เป็นหลักฐาน หรือผู้รับจํานองจะทําเป็นหนังสือให้คํายินยอมก็ได้ ดังนั้น หากต้องการที่จะจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่มี การจํานองติดอยู่ เมื่อผู้รับจํานองได้ให้คํายินยอมไว้เป็นหลักฐาน หรือผู้รับ
จํานองจะทําเป็นหนังสือให้คํายินยอมแล้ว ก็สามารถยื่นคําขอจดทะเบียนโอน มรดกระหว่างจํานองได้ สําหรับคํายินยอมของผู้รับจํานองในกรณีนี้เป็นเพียง
คํายินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนต่อไปได้เท่านั้น มิใช่เป็นคํายินยอมให้ทายาทคนใดรับโอนมรดกแต่อย่างใด
ตามคําถามข้อที่ ๓ และ ๔ ขอเรียนว่าในกรณีที่ต้องการยื่นคําขอจดทะเบียน รับโอนมรดกตามนัยมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ไม่สามารถนํา หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมายื่นประกอบคําขอจดทะเบียนได้ ก็ชอบที่จะนํา
สําเนาหนังสือแสดงสิทธิดังกล่าวมายื่นคําขอรับโอนมรดกได้ เมื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่รับคําขอไว้แล้วก็จะตรวจสอบหลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับ
สํานักงานที่ดิน หากเห็นว่าถูกต้องก็จะดําเนินการประกาศมรดกไปก่อนและจะบันทึกถ้อยคําผู้ขอให้นําหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้น
มายื่นในวันจดทะเบียนต่อไป
นอกจากนั้นหากในวันจดทะเบียนโอนมรดกคุณยังไม่สามารถนําหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวมาได้อีก พนักงานเจ้าหน้าที่ก็สามารถเรียกหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินจากผู้ยึดถือมาดําเนินการต่อไปได้

source: https://www.dol.go.th/registry/DocLib4/ประเด็นคำถามที่น่าสนใจ/estate21.pdf

Share on: