แก้ไขล่าสุด วันที่ 27th August, 2023 at 08:23 am
กฎหมายมรดกที่ดินที่ควรรู้
กฎหมายมรดกที่ดิน คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินที่ตกทอดไปยังทายาทเมื่อเจ้าของที่ดินเสียชีวิตเเล้ว ซึ่งรายละเอียดและกฎหมายมรดกที่ดินที่ควรทราบมีดังนี้
1. กฎหมายมรดกที่ดินที่ควรทราบประการแรกคือมรดกที่ดินจะตกเป็นของบุคคลที่เจ้าของที่ดินระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งเรียกว่า “การได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม”
2. กฎหมายมรดกที่ดินข้อที่ 2 คือ ในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ที่ดินจะตกทอดแก่ทายาทตามลำดับของเจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็น “ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย”
3. กฎหมายมรดกที่ดินข้อถัดมาคือผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินกับสำนักงานที่ดินโดยกำหนดรายละเอียดของเอกสารที่นำไปจดทะเบียนไว้ดังนี้
– กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าถ้าเอกสารเป็น โฉนดที่ดิน น.ส.3 ข. ขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา
– ตามกฎหมายมรดกที่ดินถ้าเอกสารเป็น น.ส.3, น.ส.3 ก. ขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินที่สำนักงานที่ดินอำเภอ
4. ในกรณีที่พื้นที่นั้น ๆ ยกเลิกอำนาจของนายอำเภอเกี่ยวกับกฎหมายมรดกที่ดินไปแล้ว ผู้ที่ได้รับแบ่งมรดกที่ดินที่มีเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก.,น.ส.3 ข. ต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่ตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด

รู้จักเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
เอกสารสิทธิ์ที่ดิน เรื่องที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ-ขาย

ใครมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินบ้าง
ในทางกฎหมายมรดกที่ดินการส่งมอบมรดกที่ดินแบ่งผู้ที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องมีสิทธิตามพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมส่งต่อมรดกที่ดินนั้นโดยระบุชื่อผู้สืบทอดไว้ชัดเจนตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
2. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าผู้ได้รับแบ่งมรดกที่ดินต้องเป็นทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม เมื่อเจ้าของที่ดินไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ผู้ที่มีสิทธิ์ในการรับมรดกที่ดินจะเป็นไปตามกฎหมายมรดกที่ดินที่มีการลำดับทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมไว้ดังนี้
ลำดับผู้ได้รับมรดกที่ดิน | ผู้ได้รับมรดกที่ดิน |
ลำดับที่ 1 | ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ) |
ลำดับที่ 2 | ภรรยาหรือสามี (ต้องได้จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น) |
ลำดับที่ 3 | บิดาและมารดา |
ลำดับที่ 4 | พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน |
ลำดับที่ 5 | พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน |
ลำดับที่ 6 | ปู่ ย่า ตา ยาย |
ลำดับที่ 7 | ลุง ป้า น้า อา |

หลักในการแบ่งมรดกที่ดินตามกฎหมายมรดกที่ดิน
1. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าหากเจ้าของที่ดินมีทายาทโดยธรรมหลายลำดับ สิทธิจะเป็นของทายาทในลำดับต้นก่อน ทายาทลำดับถัดไปจะไม่มีสิทธิในการรับมรดกที่ดินนี้
2. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่และมีการจดทะเบียนสมรสกับเจ้าของที่ดิน ตามกฎหมายมรดกที่ดินจะได้รับการแบ่งมรดกที่ดินระหว่างสามีภรรยาก่อน ส่วนที่เหลือจะนำไปแบ่งปันระหว่างทายาท ซึ่งคู่สมรสของเจ้าของที่ดินที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีสิทธิรับอีกต่อหนึ่ง ในกรณีต่อไปนี้
– หากผู้รับมรดกที่ดินเป็นทายาทลำดับที่ 1 คู่สมรสของเจ้าของที่ดินจะได้รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตรตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
– หากเจ้าของที่ดินไม่มีผู้สืบสันดาน มรดกที่ดินจะตกเป็นของคู่สมรสครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นของทายาทในลำดับที่ 3 หรือ 4 ตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
– หากผู้รับมรดกที่ดินเป็นทายาทลำดับที่ 5, 6 หรือ 7 คู่สมรสจะได้รับมรดกที่ดินสองในสามส่วน ตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
– หากไม่มีทายาทคู่สมรสจะได้รับมรดกที่ดินนั้นทั้งหมดตามกฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
3. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าทายาทที่ได้รับมรดกที่ดินในอันดับเดียวกันจะได้รับส่วนแบ่งเท่าๆ กัน
4. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าในกรณีที่มรดกที่ดินตกเป็นของทายาทลำดับที่ 1, 4, 5 หรือ 7 แต่ทายาทเสียชีวิตของเจ้าของที่ดิน ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นจะได้รับมรดกที่ดินแทน
5. ในกรณีที่มรดกที่ดินตกเป็นของทายาทลำดับที่ 3 หรือ 6 แต่ทายาทเสียชีวิตของเจ้าของที่ดิน กฎหมายมรดกที่ดินระบุไว้ว่าจะไม่มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป

หลักฐานที่ต้องเตรียมสำหรับการขอรับมรดกที่ดิน
เมื่อระบุผู้รับมรดกได้เรียบร้อยแล้วสิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับขั้นตอนต่อไปคือ การเตรียมหลักฐานเพื่อขอรับมรดกที่ดิน ตามกฎหมายมรดกที่ดินได้ระบุเอกสารที่ต้องเตรียมไว้ดังนี้
1. ตามกฎหมายมรดกที่ดินได้ระบุไว้ว่าต้องนำหนังสือแสดงสิทธิ์ โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์มาสำหรับการดำเนินการตามขั้นตอน
2. ใบมรณะบัตรของเจ้าของที่ดิน หรือทายาทที่เสียชีวิต
3. ทะเบียนสมรส หย่า ของเจ้าของที่ดิน
4. ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวของทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกคน
5. ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินต้องไปสำนักงานที่ดิน หรือ นำเอกสารในการสละมรดกไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
6. พินัยกรรม (ถ้ามี)
7. ถ้าผู้รับมรดกที่ดินมีฐานะเป็นคู่สมรสจะต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายมาประกอบตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
8. ถ้าผู้รับมรดกที่ดินเป็นบิดาของเจ้าของที่ดินต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้าของที่ดินหรือหลักฐานการรับรองบุตรมาประกอบตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
9. ถ้าผู้รับมรดกที่ดินเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าของที่ดินต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
10. นำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดมาแสดงในกรณีที่มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดกที่ดิน
11. หากมีผู้รับมรดกที่ดินร่วมกันหลายคนและบางคนถึงแก่กรรมไปเเล้วจะต้องมีหลักฐานการเสียชีวิตของทายาทนั้นด้วย
12. หากมีผู้จัดการมรดกที่ดิน หลักฐานที่ต้องนำไปตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด คือ คำสั่งศาล คำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ดิน หลักฐานการตายของเจ้าของที่ดิน ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดกที่ดิน โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
13. การเตรียมค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนขอรับมรดกที่ดิน ดังนี้
- ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
- ค่าประกาศมรดกที่ดิน แปลงละ 10 บาท
- ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดกที่ดิน แปลงละ 50 บาท
- ค่าจดทะเบียนโอนมรดกที่ดิน ร้อยละ 2 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
- หากโอนมรดกที่ดินระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5
source: https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/กฎหมายมรดกที่ดินที่คุณควรรู้-53245