เงินสงเคราะห์บุตร อดีตลูกเขยไม่ยอมให้หลังหย่าร้าง

แก้ไขล่าสุด วันที่ 28th August, 2023 at 11:15 am

เงื่อนไขรับสิทธิ์ “เงินสงเคราะห์บุตร”


เอกสารที่ต้องใช้รับ “เงินสงเคราะห์บุตร”

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  • กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ : สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ : สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  • กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
  • กรณีผู้ประกันตนต่างชาติ ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
    • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารออมสิน
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หรือสามารถลงทะเบียนรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้

ทั้งนี้เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับ เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

สถานที่ยื่นรับลงทะเบียนรับ “เงินสงเคราะห์บุตร”

สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา/ที่สะดวก เช็กสถานที่ใกล้บ้านท่าน (คลิก พื้นที่ กทม.ส่วนภูมิภาค)  หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สอบถามสายด่วน ประกันสังคม โทร. 1506 กด 1

กรณีหมดสิทธิรับ “เงินสงเคราะห์บุตร”

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ทั้ง 2 อย่างได้ไหม

ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน และมีบุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้เลย

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ถ้าผู้ประกันตนอยู่ในครอบครัวยากจน สมาชิกในครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาท/คน/ปี และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

เท่ากับว่าผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทั้ง 2 ทาง ไม่ว่าจะเป็นเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด รวมจะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 1,400 บาท ต่อบุตร 1 คน

Share on: